วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562

อารยธรรมจีน


ศิลปกรรมจีน

1. เครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบ
ศิลปะที่มีอายุยืนนานที่สุดเริ่มต้นตั้งแต่ปลายยุคหินใหม่ คือ เครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีในวัฒนธรรมหยางเชา และเครื่องปั้นดินเผาสีดำขัดมันเงาในวัฒนธรรมหลงชาน ซึ่งทำขึ้นสำหรับพิธีฝังศพและเพื่อประโยชน์ใช้สอยทั่วๆไป
กรรมวิธีในการเผา เคลือบ การใช้สี และการวาดลวดลายเครื่องปั้นดินเผา มีพัฒนาการเรื่อยมาและรุ่งเรืองที่สุดในสมัยราชวงศ์ซ่ง มีการผลิตภาชนะดินเผาแบบพิเศษสำหรับชนชั้นสูงและแบบธรรมดาสำหรับสามัญชนทั่วไปเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งส่งเป็นสินค้าออกต่างประเทศและได้กลายเป็นต้นแบบของเครื่องเคลือบที่เรียกว่า ลายคราม ในสมัยราชวงศ์หยวนและพัฒนาไปถึงขั้นสูงสุดเป็นเครื่องเบญจรงค์ถ้วยชามในสมัยราชวงศ์หมิง กล่าวคือ เป็นลายครามเคลือบสีทั้งห้า สีหลักคือ สีดำ ขาว เหลือง แดง และเขียวหรือคราม และอาจใช้สีอื่นประกอบได้อีก เช่น สีม่วง ชมพู แสด น้ำตาล  
2. เครื่องสำริด
ทำขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ บรรพบุรุษ และใช้ในพิธีต่างๆตลอดจนใช้สอยในชีวิตประจำวัน ภาชนะสำริดที่เก่าแก่ที่สุด พบในสมัยราชวงศ์ชาง มีลักษณะพิเศษที่ลายประดิษฐ์และลอกเลียนแบบธรรมชาติ ตอนปลายของราชวงศ์ชาง ถือว่าเป็นยุคทองของเครื่องสำริด
เครื่องสำริดค่อยๆหมดความสำคัญลงในสมันราชวงศ์ฮั่นเนื่องจากมีวัสดุอุปกรณ์อื่นเข้ามาแทน เช่น เหล็ก ทองคำ เงิน เครื่องปั้นดินเผา แต่อย่างไรก็ตามเครื่องสำริดก็ยังใช้ทางด้านพิธีกรรมอยู่ 
3. เครื่องหยก
เครื่องหยกจัดเป็นศิลปะแขนงสำคัญของจีนตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มีการพบหยกสีน้ำตาลทำเป็นรูปขวานและแหวนในหลุมศพปลายสมัยหินใหม่ ชาวจีนยกย่องว่าหยกเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณธรรม 5 ประการ คือ ใจบุญ สมถะ กล้าหาญ ยุติธรรม และมีสติปัญญา ชาวจีนมีความผูกพันกับหยกตั้งแต่เกิดจนตายก็ว่าได้ เพราะชาวจีนเชื่อว่าหยกเป็นอัญมณีศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาซึ่งสิริมงคล ความเจริญรุ่งเรือง ความร่ำรวย ความมีโชคแก่ผู้ครอบครองและทำให้อายุยืนด้วยดังนั้น
ชาวจีนในสมัยก่อนไม่ว่าจะเป็นชนชั้นใดจึงนิยมใช้หยกเป็นเครื่องประดับและเครื่องใช้ต่าง เช่น พระจักรพรรดิใช้หยกเป็นตราพระราชลัญจกร พระธำมรงค์ พระคทา หรือพระที่นั่ง ชาวจีนทั่วไปมักจะให้ลูกหลานของตนพกหยกติดตัวไว้เสมอ ถ้าเป็นเด็กหญิงจะสวมกำไลหยก แต่ถ้าเป็นเด็กชายก็จะพกเครื่องใช้ที่ทำด้วยหยกหรือจี้พระหยก เมื่อเสียชีวิตหยกก็จะถูกฝังลงไปพร้อมกับศพ
การที่ชาวจีนฝังหยกลงไปด้วยกันกับศพนี้ เนื่องจากเชื่อกันว่าหยกสามารถรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยได้ ดังที่มีการขุดพบฉลองพระองค์หยกของพระจักรพรรดิในราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเมื่อ 2,000 ปีก่อน ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันความเชื่อนี้ ส่วนประเพณีทำศพนั้น ชาวจีนมักจะนำหยกที่แกะสลักเป็นรูปกลมแบนมีรูตรงกลางซึ่งแทนสัญลักษณ์ของสวรรค์ที่เรียกว่า “ปิ” (Pi) มาวางไว้ด้านหลังศพ ส่วนบนท้องศพจะวางหยกรูปสี่เหลี่ยมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของโลก เรียกว่า “จุง” (Tsung) เพื่อให้สวรรค์หนุนหลัง
024

กำไลหยก
4. ประติมากรรม
ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ทำจากดินสีแดง มีลวดลาย แดง ดำ และขาวเป็นลวดลายเรขาคณิต สมัยราชวงศ์ฉินมีการสร้างสุสานของจักรพรรดิจิ๋นซี ทางด้านตะวันออกองเมืองซีอาน ภายในมีการขุดพบประติมากรรมดินเผารูปทหารเท่าคนจริงจำนวนหลายพันรูป และขบวนม้าศึก จัดตามตำราพิชัยสงคราม
025
งานประติมากรรมดินเผาเริ่มเสื่อมลงในราชวงศ์ฮั่นเนื่องจากมีการนำหินมาสลักแทนและ มีการแกะสลักงาช้าง หินอ่อน และหยกตามความเชื่อและความนิยมของชาวจีน ที่เชื่อว่า หยก ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลในสมัยราชวงศ์ชางสมัยราชวงศ์ถัง ทั้งงานหล่อสำริดและแกะสลักจากหิน ซึ่งมีสัดส่วนงดงาม เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดียและจีนที่มีลักษณะเป็นมนุษย์มากกว่าเทพเจ้า นอกจากนี้มีพุทธปฏิมาที่นิยมสร้าง คือ พระศรีศากยมุนี พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระศรีอริยเมตไตรย พระอมิตาภะ
5. สถาปัตยกรรม
026
กำแพงเมืองจีน สร้างในสมัยราชวงศ์จิ๋น เพื่อป้องกันการรุกรานของมองโกล
027
พระราชวังฤดูร้อน สร้างในสมัยราชวงศ์เช็ง โดยพระนางซูสีไทเฮา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างยุโรปและจีนโบราณ
C12925853-140
กำแพงเมืองซีอาน

6. จิตรกรรม

  • มีวิวัฒนาการมาจากการเขียนตัวอักษรจีนจารึกบนกระดูกเสี่ยงทายเพราะตัวอักษรจีนมีลักษณะเหมือนรูปภาพ
  • งานจิตรกรรมจีนรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีการเขียนภาพและแกะสลักบนแผ่นหิน ที่นิยมมากคือ การเขียนภาพบนผ้าไหม ภาพวาดเป็นเรื่องเล่าในตำราขงจื๊อพระพุทธศาสนาและภาพธรรมชาติ
  • สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาการใช้พู่กันสีและกระดาษภาพส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า
  • สมัยราชวงศ์ซ้อง จิตรกรรมจัดว่าเด่นมาก ภาพวาดมักเป็นภาพมนุษย์กับธรรมชาติ ทิวทัศน์ ดอกไม้
จิตรกรที่มีชื่อเสียง
  • กู่ไค่จิ้น (Ku Kai Chin) บิดาแห่งจิตรกรรมจีน
  • เซียะโห (Hsieh Ho) จิตรกรคนสำคัญที่มีอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5
  • อู่เต้าจื่อ (Wu Tao-Tzu) ผู้นำในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่แสดงเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา
  • หวางเว่ย ผู้วางรากฐานการวาดภาพทิวทัศน์ที่เชื่อมโยงเข้ากับลีลาของบทกวีนิพนธ์
  • หมี่ฟุ นำตัวอักษรมาผสมกับการวาดภาพ

7. วรรณกรรม

  •  วรรณกรรมที่สำคัญ ได้แก่ คัมภีร์ทั้ง ของขงจื๊อ วรรณกรรมที่สำคัญอีกเล่มคือ สื่อจี้ (บันทึกประวัติศาสตร์) บันทึกโดยซือหม่าเฉียน ในสมัยราชวงศ์ฮั่น
  • วรรณกรรมสามก๊ก สันนิษฐานว่าเขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นเรื่องราวของ ความแตกแยกในจีนตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศจิ๋นจนถึงราชวงศ์ฮั่น
  • ซ้องกั๋ง เป็นเรื่องประท้วงสังคม เรื่องราวความทุกข์ของผู้คนในมือชนชั้น ผู้ปกครอง สะท้อนความทุกข์ของชาวจีนภายใต้การปกครองของพวกมองโกล
  • ไซอิ๋ว เป็นเรื่องราวการเดินทางไปนำพระสูตรจากสวรรค์ทางตะวันตกมายังประเทศจีน
  • จินผิงเหมย หรือดอกบัวทอง แต่งขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 เป็นนิยายเกี่ยวกับสังคมและชีวิตครอบครัว เป็นเรื่องของชีวิตที่ร่ำรวย มีอำนาจขึ้นมาด้วยเล่ห์เหลี่ยม แต่ด้วยการทำชั่วและผิดศีลธรรมในที่สุดต้องรับกรรม
  • หงโหลวเมิ่ง หรือ ความฝันในหอแดง เด่นที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เรื่องราวเต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดี อิจฉาริษยากัน ผู้อ่านจะรู้สึกเศร้าสลดต่อชะตาชีวิตของพระเอกนางเอกเนื้อเรื่องสะท้อนให้เห็นสังคมศักดินาของจีนที่กำลังเสื่อมโทรมก่อนการเปลี่ยนแปลงสังคมเข้าสู่ยุคใหม่ บันทึกประวัติศาสตร์ ของ สื่อหม่าเฉียน

ความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมจีน

    ชาวจีนในสมัยโบราณได้พัฒนาความเจริญรุ่งเรืองด้านต่างๆ 
ที่เป็นรากฐานของอารยธรรมจีน ความเจริญที่สำคัญ ได้แก่ การประดิษฐ์อักษรจีน 
วิชาดาราศาสตร์ ปรัชญา การก่อสร้าง
    
 อักษรจีนจีนมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลและ
มีภาษาถิ่นจำนวนมาก
ที่แตกต่างกันตามกลุ่มประชากร
ทำให้ไม่อาจติดต่อสื่อสารกันได้ 
และเป็นอุปสรรคต่อการรวมอำนาจ
เข้าสู่ศูนย์กลางโดยเฉพาะในสมัยโบราณ จีนปกครองในระบบนครรัฐซึ่งมีประมาณ1800แห่ง 
การประดิษฐ์อักษรจีน
นับเป็นภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่เพราะส่งเสริม
ให้เกิดเอกภาพในสังคมจีนอักษรจีน
เป็นอักษรภาพไม่มีพยัญชนะ
อักษรแต่ละตัวมีความหมายชัดเจน ดังนั้น ชาวจีนที่พูดภาษาต่างกันก็สามารถสื่อสารตรงกันได้ด้วยตัวอักษรภาพ อักษรจีนเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาความเจริญอื่นๆ จำนวนมาก 
เช่น การรวมศูนย์อำนาจปกครอง การติดต่อค้าขาย การศึกษา ปรัชญา 
การบันทึกประวัติศาสตร์ การทำกระดาษ ฯลฯ
 การปรากฎของอักษรจีนที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบที่เมืองซีอาน มณฑลส่านซี 
ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เมื่อประมาณ 5,000 ปี มาแล้ว 
โดยอยู่ในรูปของอักษรภาพที่แกะสลักเป็นวงกลม พระจันทร์เสี้ยว 
และ ภูเขาห้ายอด บนเครื่องปั้นดินเผา จวบจนเมื่อ 3,000 ปี 
ก็ได้เปลี่ยนรูปแบบเป็น อักษรที่จารึกบนกระดูกสัตว์นั่นเอง 
ซึ่งเป็นยุคต้นศิลปะการเขียนของจีน
หากเรียงลำดับวิวัฒนาการจะได้ดังนี้
· อักษรจารึกบนกระดูกสัตว์เจี๋ยกู่เหวิน เป็นอักษรโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในจีน
 ตั้งแต่มีการค้นพบมา โดยอยู่ในรูปแบบ ของการทำนาย 
ที่ใช้มีดแกะสลักลงบนกระดูกของเต่า
· อักษรโลหะ หรือ จินเหวิน เป็นอักษรที่เกิดในราชวงศ์ชาง-ราชวงศ์โจว 
มีลักษณะพิเศษคือ ลายเส้นจะมีความหนาและชัดเจนมากเพราะ
ได้จากากรหลอมของโลหะ ไม่ใช่การแกะสลัก
· อักษรจ้วนเล็ก จากสมัยชุนชินจั้นกว๋อ จนถึงราชวงศ์ฉินอักษรจีนได้คงรูป
แบบเดิมไว้อยู่จากราชวงศ์โจวตะวันตกภายหลังหลังจากจิ๋นซีฮ่องเต้รวบรวมแผ่นดินจีน
เข้าด้วยกัน ในปี ค.ศ.221 แล้วก็ได้เกิดการปฎิรูปตัวอักษรจีนครั้งใหญ่ 
อักษรที่ผ่านการปฎิรูปนี้ ได้ใช้กันทั่วประเทศจีนเป็นครั้งแรกเรียกว่า อักษร จ้วนเล็ก
· อักษรลี่ซู ขณะ ที่ราชวงศ์ฉินมีการประกาศใช้อักษร จ้วนเล็กแล้ว 
ก็ได้มีการให้ใช้อักษรลี่ซูควบคู่กันไป โดยอักษรลี่ซู พัฒนามาจาก 
อักษรจ้วนเล็กอย่างง่าย อักษรลี่ซูทำให้อักษรจีน ก้าวเข้าสู่อักษรสัญลักษณ์ 
อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งไม่ใช่อักษรภาพเหมือนยุคแรก
· อักษรข่ายซู เป็นอักษรที่ใช้กันแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน 
เป็นเส้นลักษณะที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบสี่เหลี่ยม หลุดพ้นจากอักษรภาพ 
ยุคโบราณอย่างสิ้นเชิง
· อักษรเฉ่าซู เกิดจากการที่นำลายเส้นที่มีอยู่แต่เดิม มาย่อเหลือเพีงขีดเดียว 
โดยฉีกรูปแบบที่จำเจของอักษรภายใต้กรอบสี่เหลี่ยมที่มีแต่เดิมออกไป 
·  อักษรสิงซู มีรูปแบบระหว่าง ข่ายซู กับ เฉ่าซู ผสมกัน หรือ 
อาจกล่าวได้ว่าเป็นอักษรที่เขียนตวัด อย่างบรรจง กำหนดขึ้นในปลายราชวงศ์ฮั่น 
ทางตะวันออก

     
ความก้าวหน้าด้านดาราศาสตร์ 
ชาวจีนโบราณในสมัยราชวงศ์ซางได้คิดทำ
ปฏิทินแบบจันทรคติเมื่อ3000กว่าปีมาแล้ว โดยการสังเกตฤดูกาล ได้แก่ ฤดูผลิ ฤดูเก็บเกี่ยว 
และฤดูหนาว ซึ่งผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน
เป็นวัฏจักร แต่ละรอบนับเป็น ปี 
มี 365 วันซึ่งยังคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่น เมื่อ 444 ปีก่อนคริสต์ศักราช 
สามารถคำนวณได้ว่า ปี มี365วัน 
นอกจากนี้ยังพบจุดดับบนดวงอาทิตย์
เมื่อประมาณ 2000ปีกมา
แล้ว 

รวมทั้งยังประดิษฐ์กล้องดูดาวได้ตั้งแต่ต้นคริสต์ศักราช 
นับว่าจีนมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไม่น้อยกว่าชนชาติ
อารยะอื่นๆที่ร่วมสมัยกันปรัชญา 
ปรัชญาจีนไม่ได้พัฒนาจากความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย 
แต่เป็นการค้นหาหลักธรรมเพื่อการดำรงชีวิตในโลกปัจจุบัน ก่อนที่จักรวรรดิจิ๋น(ฉิน) หรือจิ๋นซีฮ่องเต้จะสถาปนาอำนาจเมื่อปี 221ก่อนคริสต์ศักราช จีนมีนครรัฐที่ต่างเป็นอิสระอยู่มมาก 
บ้านเมืองจึงเกิดสงครามแย่งชิงอำนาจกันเนืองๆ 
ประชาชนได้รับภัยพิบัติจากสงครามและผลกระทบอื่นๆ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ที่โดเด่นและมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของชาวจีน ได้แก่ ลัทธิธรรมชาตินิยม ขงจื๊อ เต๋า 
และนิติธรรมนิยมหรือลัทธิฝ่าเจีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น