แผนที่ทวีปเอเชีย
ประวัติศาสตร์ของเอเชีย ปรากฏให้เห็น ในรูปของประวัติศาสตร์ภูมิภาคชายฝั่งรอบนอกของทวีปหลาย ๆภูมิภาคที่มีความแตกต่างกัน คือเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียกลาง ซึ่งพื้นที่ทั้ง 3 ภูมิภาคนี้ถูกเชื่อมโยงติดต่อกันโดยดินแดนแห่งทุ่งหญ้ายูเรเชียที่กว้างใหญ่ไพศาลภายในทวีป
พื้นที่ชายฝั่งทวีปเอเชียคือพื้นที่ที่อารยธรรมยุคแรก ๆ ก่อกำเนิดขึ้น ทั้ง 3 ภูมิภาคพัฒนาอู่อารยธรรมของตนขึ้นมาบนพื้นที่บริเวณดินแดนลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ 3 สาย คือ
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ในเอเชียกลาง
อู่อารยธรรมทั้ง 3 มีความเหมือนกันหลายประการ และคงมีการติดต่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี่และแนวความคิดระหว่างกันด้วย เช่น ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ และการประดิษฐ์ล้อวงกลม เป็นต้น ขณะที่ความคิดอื่นๆ เช่นตัวอักษรนั้นคงมีการพัฒนาแยกเป็นอิสระจากกันในแต่ละภูมิภาค แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำทั้ง 3 ของเอเชียได้เจริญรุ่งเรื่อง พัฒนาเข้าสู่ความเป็น "รัฐ" แล้วขยายอำนาจกลายเป็นอาณาจักรใหญ่ หรือ "จักรวรรดิ" ได้ในเวลาต่อมา
ภูมิภาคทุ่งหญ้าที่แห้งแล้งภายในของทวีปเอเชียนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าเร่ร่อน (nomads) ที่ขี่ม้า เลี้ยงสัตว์ อยู่ในดินแดนแห่งนี้มาเป็นเวลายาวนาน การมีม้าเป็นพาหนะทำให้พวกเขาสามารถเดินทางจากใจกลางทุ่งโล่งภายในทวีปออกไปยังดินแดนส่วนอื่นๆของทวีปได้ การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานจากทุ่งหญ้าครั้งแรกสุดที่รู้จักกันคือกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ซึ่งส่งผลให้เกิดการถ่ายทอดภาษาของกลุ่มออกไปยังดินแดนในตะวันออกกลาง อินเดีย เข้าไปถึงโตชาเรียนและชายแดนจีน ส่วนพื้นที่ทางเหนือของทวีปเอเชีย ซึ่งครอบคลุมส่วนใหญ่ของไซบีเรียนั้นยังเป็นพื้นที่ที่ชนเผ่าเร่ร่อนเหล่านี้เดินทางไปไม่ถึงเนื่องจากภูมิประเทศเป็นป่าทึบและเป็นเขตทุ่งน้ำแข็งที่หนาวเย็น พื้นที่บริเวณนี้จึงมีฝูงชนอาศัยอยู่เบาบางมาก
พื้นที่ใจกลางทวีปและแหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำชายขอบทวีปถูกแยกออกจากกันโดยแนวเทือกเขาสูงและทะเลทรายที่กว้างใหญ่ เช่น เทือกเขาคอเคซัส เทือกเขาหิมาลัย ทะเลทรายคาราคูม ทะเลทรายโกบี เป็นต้น เทือกเขาและทะเลทรายเหล่านี้ได้กลายเป็นอุปสรรคขัดขวางสำคัญที่ทำให้ชนเผ่าเร่ร่อนบนหลังม้าต้องเดินทางด้วยความยากลำบากกว่าจะสามารถรุกข้ามไปยังพื้นที่ลุ่มชายฝั่งได้ ขณะที่ประชากรเมืองที่อาศัยอยู่ในแหล่งอารยธรรมเหล่านี้มีความก้าวหน้าทั้งทางด้านเทคโนโลยีและวัฒนธรรมมากกว่าชนเผ่าเร่ร่อนมาก แต่ก็ตกเป็นรองผู้รุกรานบนหลังม้ามากทางด้านการทหาร ทำให้กลายเป็นผู้พ่ายแพ้ไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากดินแดนในที่ลุ่มเหล่านี้ไม่มีทุ่งหญ้าที่กว้างใหญ่สำหรับเลี้ยงดูกองทัพม้าขนาดมหึมาของผู้รุกรานได้ ท้ายที่สุด ชนเผ่าเร่รอนผู้พิชิตรัฐต่างๆ ทั้งในจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง จึงถูกบีบให้ปรับตัวเข้ากับสังคมท้องถิ่นที่ตนเป็นฝ่ายรุกรานครอบครองไป
เทือกเขาหิมาลัย
เมโสโปเตเมีย ( Mesopotamia) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า “ที่ระหว่างแม่น้ำ” โดยมีนัยหมายถึง “ดินแดนระหว่างแม่น้ำ แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส” เมโสโปเตเมีย (meso=กลาง,potamia=แม่น้ำ)ดินแดนดังกล่าวนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ “ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์” ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจรดอ่าวเปอร์เซีย
ชนชาติแรกอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำไทกริสเมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสต์กาล บริเวณที่เข้ามาตอนแรกคือ แคว้นซูเมอร์ซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดของเมโสโปเตเมียติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีลักษณะเป็นนครรัฐ แต่ละนครรัฐมีอิสระไม่ขึ้นต่อกัน เช่น ลากาซ บาบิโลน อูร์ อูรุค นิปเปอร์
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นอารยธรรมที่ถือกำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดียและปากีสถานในปัจจุบัน ถือเป็นอารยธรรมยุคแรกๆของโลก วัฒนธรรมเก่าสุดเริ่ม
ดินแดนอินเดียโบราณทางศาสนามักเรียกว่าชมพูทวีป เป็นบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลครอบคลุมดินแดนอินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศในปัจจุบัน ชื่ออินเดียมาจากภาษาสันกกฤตว่าสินธุ ซึ่งเป็นชื่อแม่น้ำสายสำคัญทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียโบราณ ชาวอินเดียเองเรียกดินแดนของเขาว่า ภารตวรรษ ซึ่งมีความหมายว่าดินที่อยู่ของชาวภารตะ คำว่าภารตะมาจากคำว่าภรตะ ซึ่งเป็นชื่อของ กษัตริย์
อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ ถูกสร้างขึ้นโดยชาวดราวิเดียน (มิลักขะหรือ ทมิฬ) ชนพื้นเมืองเดิมของอินเดียผิวดำ ร่างเล็ก จมูกแบนพูดภาษาตระกูลดราวิเดียน (ทมิฬ ) มีการค้นพบหลักฐานเมื่อ คริสต์ศักราช 1856 เมื่อมีการก่อสร้างทางรถไฟบริเวณลุ่มน้ำสินธุ ค้นพบซากสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ คริสต์ศักราช 1920 ปรากฏเป็นรูปเมือง บริเวณเมือง ฮารัมปา(Harappa) และเมืองโมเฮนโจ ดาโร(Mohenjo Daro) อายุประมาณ 2500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หลักฐานที่ค้นพบจัดเป็นอารยธรรมยุคโลหะเป็นสังคมเมือง ป้อมปราการขนาดใหญ่ มีสระอาบน้ำสาธารณะนักโบราณคดีสันนิฐานว่าอาจเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีการวางผังเมือง ตัดถนน มีกำแพงอิฐ บ้านเรือนสร้างด้วยอิฐ
มีระบบระบายน้ำสองท่อทำด้วยดินเผาอยู่ข้างถนน เพื่อรับน้ำที่ระบายจากบ้าน มีอักษรภาพใช้ พบโบราณวัตถุรูปแกะสลักหินชายมีเครา มีแถบผ้าคาด มีตราประทับตรงหน้าผาก รูปสำริดหญิงสาว รูปแกะสลัก บนหินเนื้ออ่อน เครื่องประดับ สร้อยทองคำ สร้อยลูกปัด มีการเพาะปลูกพืชเกษตรเช่นฝ้าย ข้าวสาลี ถั่ง งา ข้าวโพด พบหลักฐานการค้ากับต่างแดนทั้งทางบกและทางทะเล เช่น เปอร์เชีย อัฟกานิสถาน เมโสโปเตเมีย ธิเบต โดยพบโบราณวัตถุจากอินเดีย หินสี เงิน อัญมณีจากเปอร์เชีย หยกจากธิเบต และ มีการขุดค้นพบอารยธรรมนี้กว่า 100 แห่งบริเวณแม่น้ำสินธุ ส่วนใหญ่อยู่ในปากีสถาน
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโห จีน อารยธรรมจีนในแถบลุ่มแม่น้ำฮวงโห
อารยธรรมจีนได้สร้างสมอยู่ในแผ่นดินแถบบริเวณนี้เป็นมาเวลาช้านาน และมีอิทธิพลที่สร้างกันมานั้นก็ได้มาจากความนึกคิดของเขาเป็นสิ่งสำคัญซึ่งย่อมหมายถึง วิถีการดำรงชีวิต ตลอดจนทัศนคติที่มีต่อโลก คนจีนจึงมุ่งที่จะสนใจในปรัชญาของชีวิตและนับถือนักปราชญ์ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ให้คำแนะนำในการดำเนินชีวิต เช่น ขงจื๊อ เล่าจื๊อ
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ลุ่มแม่น้ำฮวงโห พบความเจริญที่เรียกว่า วัฒนธรรมหยางเชา พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผาเป็นลายเขียนสี มักเป็นลายเรขาคณิต พืช นก สัตว์ต่างๆ และพบใบหน้ามนุษย์ สีที่ใช้เป็นสีดำหรือสีม่วงเข้ม นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์ลายหรือขูดสลักลายเป็นรูปลายจักสาน ลายเชือกทาบ
เครื่องปั้นดินเผาหยางเชา
ลุ่มน้ำแยงซี (Yangtze) บริเวณมณฑลชานตุงพบ วัฒนธรรมหลงซาน (Lung Shan Culture) พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผามีเนื้อละเอียดสีดำขัดมันเงา คุณภาพดีเนื้อบางและแกร่ง เป็นภาชนะ3ขา
เครื่องปั้นดินเผาหลงซาน
สมัยประวัติศาสตร์ของจีนแบ่งได้ 4 ยุค
1.ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ
เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชาง สิ้นสุดสมัยราชวงศ์โจว
2.ประวัติศาสตร์สมัยจักรวรรดิ
เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋น จนถึงปลายราชวงศ์ชิงหรือเช็ง
3.ประวัติศาสตร์สมัยใหม่
เริ่มปลายราชวงศ์เช็งจนถึงการปฏิวัติเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม
4.ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
เริ่มตั้งแต่จีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม
หรือคอมมิวนิสต์จนถึงปัจจุบัน
อารยธรรมราชวงศ์
ราชวงศ์ชาง
-เป็นราชวงศ์แรกของจีน
-มีการปกครองแบบนครรัฐ
-มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เป็นครั้งแรก พบจารึกบนกระดองเต่า และกระดูกวัว เรื่องที่จารึกส่วนใหญ่ เป็นการ ทำนายโชคชะตาจึงเรียกว่า “กระดูกเสี่ยงทาย”
-มีความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ
-อักษรจีนจารึกบนกระดองเต่า
ราชวงศ์โจว
-แนวความคิดด้านการปกครอง เชื่อเรื่องกษัตริย์เป็น “โอรสแห่งสวรรค์” สวรรค์มอบอำนาจให้มาปกครองมนุษย์เรียกว่า “อาณัตแห่งสวรรค์”
-เริ่มต้นยุคศักดินาของจีน
-เกิดลัทธิขงจื๊อ ที่มีแนวทาง
-เป็นแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม
-เน้นความสัมพันธ์และการทำหน้าที่ของผู้คนในสังคม ระหว่างจักรพรรดิกับราษฎรบิดากับบุตร พี่ชายกับน้องชาย สามีกับภรรยา เพื่อนกับเพื่อน
-เน้นความกตัญญู เคารพผู้อาวุโส ให้ความสำคัญกับครอบครัว
-เน้นความสำคัญของการศึกษา
-เกิดลัทธิเต๋า โดยเล่าจื๊อ ที่มีแนวทาง
-เน้นการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ต้องมีระเบียบแบบแผนพิธีรีตองใดใด
-เน้นปรับตัวเข้าหาธรรมชาติ
-ลัทธินี้มีอิทธิพลต่อศิลปิน กวี และจิตรกรจีน
-คำสอนทั้งสองลัทธิเป็นที่พึ่งทางใจของผู้คน
ราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน
-จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่สามารถรวมดินแดนของจีนให้เป็นจักรวรรดิ เป็นครั้งแรกคือ พระเจ้าชิวั่งตี่ หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นผู้ให้สร้าง กำแพงเมืองจีน
-มีการใช้เหรียญกษาปณ์ มาตราชั่ง ตวง วัด

ราชวงศ์ฮั่น
-เป็นยุคทองด้านการค้าของจีน มีการค้าขายกับอาณาจักรโรมัน อาหรับ และอินเดีย โดยเส้นทางการค้าที่เรียกว่า เส้นทางสายไหม ( Silk Road )
-ลัทธิขงจื๊อ คำสอนถูกนำมาใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ
-มีการสอบ คัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการเรียกว่า จอหงวน
ราชวงศ์สุย
-เป็นยุคแตกแยกแบ่งเป็นสามก๊ก
-มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคม
ราชวงศ์ถัง
-ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมจีน นครฉางอานเป็นศูนย์กลางของซีกโลกตะวันออกในสมัยนั้น
-พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระภิกษุ (ถังซำจั๋ง) เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎก ในชมพูทวีป
-เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์จีน กวีคนสำคัญ เช่น หวางเหว่ย หลี่ไป๋ ตู้ฝู้
-ศิลปะแขนงต่างๆมีความรุ่งเรือง
ราชวงศ์ซ้อง
-มีความก้าวหน้าด้านการเดินเรือสำเภา
-ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ
ราชวงศ์หยวน
-เป็นราชวงศ์ชาวมองโกลที่เข้ามาปกครองจีน ฮ่องเต้องค์แรก คือ กุบไลข่าน หรือ หงวนสีโจ๊วฮ่องเต้
-ชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมาก เช่น มาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเมืองเวนีส อิตาลี
ราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง
-วรรณกรรม นิยมการเขียนนวนิยายที่ใช้ภาษาพูดมากกว่าการใช้ภาษาเขียน มีนวนิยายที่สำคัญ ได้แก่ สามก๊ก ไซอิ๋ว
-ส่งเสริมการสำรวจเส้นทางเดินเรือทางทะเล
-สร้างพระราชวังหลวงปักกิ่ง (วังต้องห้าม)
ราชวงศ์ชิงหรือเช็ง
-เป็นราชวงศ์เผ่าแมนจู เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยความเจริญทุกด้าน
-เริ่มถูกรุกรานจากชาติตะวันตก เช่น สงครามฝิ่น ซึ่งจีนรบแพ้อังกฤษ ทำให้ต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง
-ปลายยุคราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาเข้ามามีอิทธิพลในการบริหารประเทศมาก
|